วันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ประวัติการปกครองของไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา


กรุงศรีอยุธยา

กรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่บนบริเวณซึ่งมีแม่น้ำล้อมรอบถึง 3 สาย อันได้แก่ แม่น้ำลพบุรีทางทิศเหนือ,แม่น้ำเจ้าพระยาทางทิศตะวันตกและทิศใต้ และแม่น้ำป่าสักทางทิศตะวันออก เดิมทีบริเวณนี้ไม่ได้มีสภาพเป็นเกาะ แต่พระเจ้าอู่ทองทรงดำริให้ขุดคูเชื่อมแม่น้ำทั้ง 3 สาย เพื่อให้เป็นปราการธรรมชาติป้องกันข้าศึก ที่ตั้งกรุงศรีอยุธยายังอยู่ห่างจากอ่าวไทยไม่มากนัก ทำให้กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางการค้ากับชาวต่างประเทศด้วย
ปัจจุบันบริเวณนี้เป็นส่วนหนึ่งของอำเภอพระนครศรีอยุธยา ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา


ประวัติ




ชาวไทยเริ่มตั้งถิ่นฐานบริเวณตอนกลาง และตอนล่างของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 18 แล้ว ทั้งยังเคยเป็นที่ตั้งของเมืองสังขบุรี อโยธยา เสนาราชนคร และกัมโพชนคร
ต่อมา ราวปลายพุทธศตวรรษที่ 19 อาณาจักรขอมและสุโขทัยเริ่มเสื่อมอำนาจลง พระเจ้าอู่ทองทรงดำริจะย้ายเมืองและพิจารณาชัยภูมิเพื่อตั้งอาณาจักรใหม่ และตัดสินพระทัยสร้างราชธานีแห่งใหม่บริเวณตำบลหนองโสน (บึงพระราม) และสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นราชธานี เมื่อวันศุกร์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 5 ปีขาล จุลศักราช 712 ตรงกับวันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 1893 (พ.ศ.นี้เทียบจาก จ.ศ. แต่จะตรงกับ ค.ศ.1351) ชื่อว่า กรุงเทพมหานคร บวรทวาราวดี ศรีอยุธยา มหาดิลก ภพนพรัตน์ราชธานี บุรีรมย์อุดมมหาสถาน ประวัติศาสตร์บางแห่งระบุว่าเกิดโรคระบาดขึ้น พระเจ้าอู่ทองจึงทรงย้ายเมืองหลวงมายังกรุงศรีอยุธยา


การขยายดินแดน

กรุงศรีอยุธยาดำเนินนโยบายขยายอาณาจักรด้วย 2 วิธีคือ ใช้กำลังปราบปราม ซึ่งเห็นได้จากชัยชนะในการยึดครองเมืองนครธม (พระนคร) ได้อย่างเด็ดขาดในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2และอีกวิธีหนึ่งคือ การสร้างความสัมพันธ์แบบเครือญาติ อันเห็นได้จากการผนวกกรุงสุโขทัยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักร


การล่มสลายของอาณาจักร

ช่วงสมัยรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เกิดการแย่งชิงราชสมบัติระหว่างพระเจ้าเอกทัศกับพระเจ้าอุทุมพร เนื่องจากพระองค์ทรงเลือกพระอนุชาขึ้นเป็นกษัตริย์ไม่เป็นไปตามราชประเพณี แต่พระเจ้าเอกทัศก็ทวงบัลลังก์ ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยา ครั้นในปี พ.ศ. 2303 พระเจ้าอลองพญาทรงนำทัพมารุกรานอาณาจักรอยุธยา พระเจ้าอุทุมพรทรงถูกเรียกตัวมาบัญชาการตั้งรับพระนคร แต่ภายหลังจากที่กองทัพพม่ายกกลับนั้น พระองค์ก็ได้ลาผนวชดังเดิม
ในปี พ.ศ. 2308 พระเจ้ามังระ บุตรของพระเจ้าอลองพญา ก็ได้รุกรานอาณาจักรอยุธยาอีกครั้งหนึ่ง โดยแบ่งกองกำลังออกเป็น 2 ส่วน คือ ฝ่ายเหนือภายใต้การบังคับของเนเมียวสีหบดี และฝ่ายใต้ภายใต้การนำของมังมหานรธา และมุ่งเข้าตีอาณาจักรอยุธยาพร้อมกันทั้งสองด้าน ฝ่ายอยุธยาทำการตั้งรับอย่างเข้มแข็ง และสามารถต้านทานการปิดล้อมของกองทัพพม่าไว้ได้นานถึง 14 เดือน แต่ก็ไม่อาจหยุดยั้งการล่มสลายได้ กองทัพพม่าสามารถเข้าเมืองได้ในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310


พระราชวงศ์

ราชวงศ์กษัตริย์ของกรุงศรีอยุธยา ประกอบด้วย 5 ราชวงศ์ คือ
  1. ราชวงศ์อู่ทอง มีกษัตริย์ 3 พระองค์
  2. ราชวงศ์สุพรรณภูมิ มีกษัตริย์ 13 พระองค์
  3. ราชวงศ์สุโขทัย มีกษัตริย์ 7 พระองค์
  4. ราชวงศ์ปราสาททอง มีกษัตริย์ 4 พระองค์
  5. ราชวงศ์บ้านพลูหลวง มีกษัตริย์ 6 องค์
ซึ่งรวมเป็นกษัตริย์รวม 33 พระองค์ ซึ่งถือว่ามีมาก ซึ่ง อาณาจักรกรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานีมาตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 1893 จนถึงวันที่ 7 เมษายน 2310 เป็นเวลายาวนานถึง 417 ปีเลยทีเดียว กษัตริย์ของกรุงศรีอยุธยา มีดังนี้


พระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา


อาณาจักรอยุธยา อยุธยา.jpg
อู่ทองพ.ศ. 1893 - 1952
สุพรรณภูมิพ.ศ. 1952 - 2112
กรุงแตกครั้งที่ 1พ.ศ. 2112
สุโขทัยพ.ศ. 2112 - 2172
ปราสาททองพ.ศ. 2172 - 2231
บ้านพลูหลวงพ.ศ. 2231 - 2310
กรุงแตกครั้งที่ 2พ.ศ. 2310

พระมหากษัตริย์องค์สำคัญ
พระเจ้าอู่ทองพ.ศ. 1893 - 1912
พระบรมไตรโลกนาถพ.ศ. 1991 - 2031
พระนเรศวรมหาราชพ.ศ. 2133 - 2148
พระเอกาทศรถพ.ศ. 2148 - 2153
พระนารายณ์มหาราชพ.ศ. 2199 - 2231
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
สารานุกรมประวัติศาสตร์ ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประวัติศาสตร์
ลำดับพระนามปีที่ครองราชย์พระราชวงศ์
1สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)1893 - 1912 (19 ปี)อู่ทอง
2สมเด็จพระราเมศวร (พระราชโอรสพระเจ้าอู่ทอง) ครองราชย์ครั้งที่ 11912 - 1913 (1 ปี)อู่ทอง
3สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว)1913 - 1931 (18 ปี)สุพรรณภูมิ
4สมเด็จพระเจ้าทองลัน (พระราชโอรสขุนหลวงพะงั่ว)1931 (7 วัน)สุพรรณภูมิ
สมเด็จพระราเมศวร ครองราชย์ครั้งที่ 21931 - 1938 (7 ปี)อู่ทอง
5สมเด็จพระรามราชาธิราช (พระราชโอรสพระราเมศวร)1938 - 1952 (14 ปี)อู่ทอง
6สมเด็จพระอินทราชา (เจ้านครอินทร์) (พระราชนัดดาของขุนหลวงพระงั่ว)1952 - 1967 (16 ปี)สุพรรณภูมิ
7สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) (พระราชโอรสเจ้านครอินทร์ )1967 - 1991 (16 ปี)สุพรรณภูมิ
8สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พระราชโอรสเจ้าสามพระยา)1991 - 2031 (40 ปี)สุพรรณภูมิ
9สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 (พระราชโอรสพระบรมไตรโลกนาถ)2031 - 2034 (3 ปี)สุพรรณถูมิ
10สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (พระราชโอรสพระบรมไตรโลกนาถ)2034 - 2072 (38 ปี)สุพรรณภูมิ
11สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 (พระราชโอรสพระรามาธิบดีที่ 2)2072 - 2076 (4 ปี)สุพรรณภูมิ
12พระรัษฎาธิราช (พระราชโอรสพระบรมราชาธิราชที่ 4)2076 (5 เดือน)สุพรรณภูมิ
13สมเด็จพระไชยราชาธิราช (พระราชโอรสพระรามาธิบดีที่ 2)2077 - 2089 (12 ปี)สุพรรณภูมิ
14พระยอดฟ้า (พระแก้วฟ้า) (พระราชโอรสพระไชยราชาธิราช)2089 - 2091 (2 ปี)สุพรรณภูมิ
ขุนวรวงศาธิราช (สำนักประวัติศาสตร์บางแห่งไม่ยอมรับว่าเป็นกษัตริย์)2091 (42 วัน)-
15สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พระเทียรราชา)2091 - 2111 (20 ปี)สุพรรณภูมิ
16สมเด็จพระมหินทราธิราช (พระราชโอรสพระมหาจักรพรรดิ)2111 - 2112 (1 ปี)สุพรรณภูมิ
17สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช (พระราชบุตรเขยในพระมหาจักรพรรดิ)2112 - 2133 (21 ปี)สุโขทัย (พระร่วง)
18สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พระราชโอรสพระมหาธรรมราชา)2133 - 2148 (15 ปี)สุโขทัย(พระร่วง)
19สมเด็จพระเอกาทศรถ (พระราชโอรสพระมหาธรรมราชา)2148 - 2163 (15 ปี)สุโขทัย (พระร่วง)
20พระศรีเสาวภาคย์ (พระราชโอรสพระเอกาทศรถ)2163 (ไม่ทราบที่แน่ชัด)สุโขทัย (พระร่วง)
21สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (พระราชโอรสพระนเรศวร)[ต้องการอ้างอิง]2163 - 2171 (8 ปี)สุโขทัย (พระร่วง)
22สมเด็จพระเชษฐาธิราช (พระราชโอรสพระเจ้าทรงธรรม)2171-2173 (2 ปี)สุโขทัย (พระร่วง)
23พระอาทิตยวงศ์ (พระราชโอรสพระเจ้าทรงธรรม)2173 (36 วัน)สุโขทัย (พระร่วง)
24สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (ออกญากลาโหมสุริยวงค์)2173 - 2198 (25 ปี)ปราสาททอง
25สมเด็จเจ้าฟ้าไชย (พระราชโอรสพระเจ้าปราสาททอง)2198-2199 (1 ปี)ปราสาททอง
26สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา (พระราชอนุชาพระเจ้าปราสาททอง)2199 (3 เดือน)ปราสาททอง
27สมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พระราชโอรสพระเจ้าปราสาททอง)2199 - 2231 (32 ปี)ปราสาททอง
28สมเด็จพระเพทราชา2231 - 2246 (15 ปี)บ้านพลูหลวง
29สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ)2246 - 2251 (6 ปี)บ้านพลูหลวง
30สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 (พระราชโอรสพระเจ้าเสือ)2251 - 2275 (24 ปี)บ้านพลูหลวง
31สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (พระราชโอรสพระเจ้าเสือ)2275 - 2301 (26 ปี)บ้านพลูหลวง
32สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร (พระราชโอรสพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ)2301 (2 เดือน)บ้านพลูหลวง
33สมเด็จพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศ) (พระราชโอรสพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ)2301 - 2310 (9 ปี)บ้านพลูหลวง


ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

ปัจจัยที่ทำให้อยุธยาต้องขยายอำนาจ
ทางการเมือง - ความเข้มแข็งและอำนาจของอาณาจักร
ทางเศรษฐกิจ - เพื่อความมั่งคั่งของอาณาจักร
รูปแบบความสัมพันธ์
   1.ด้านสู้รบ
   2.ระบบบรรณาการ
   3.ทางการฑูต/การค้า
จีน - ระบบบรรณาการ
ญี่ปุ่น - ทางการค้า(สมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ) แต่เมื่อญี่ปุ่นเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมืองการปกครองของไทย พระเจ้าปราสาททองจึงกำราบ ทำให้ความสัมพันธ์เสื่อมลง แต่ไทยก็ยังคงค้าขายกับญี่ปุ่นอยู่ โดยผ่านทางฮอลันดา
อาณาจักรสุโขทัย - ทางการสู้รบ อยุธยาพยายามขยายอำนาจเข้าไปยังสุโขทัย
ล้านนา - ทางการสู้รบ อยุธยาพยายามขยายอำนาจเข้าไปยังล้านนา
พม่า - รูปแบบของการทำสงคราม และ เป็นสงครามที่ยืดยื้อ
ล้านช้าง - เป็นลักษณะมีไมตรีต่อกันตั้งแต่สถาปนากรุงศรีถึงสิ้นอยุธยา
เขมร - มีทั้งการสู้รบและด้านวัฒนธรรม โดยอยุธยาเป็นฝ่ายรับมา
หัวเมืองมลายู - อยุธยาขยายอำนาจไปยังหัวเมืองมลายูด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ
ความสัมพันธ์กับชาติตะวันตก
รูปแบบความสัมพันธ์
  1.สร้างสัมพันธ์ไมตรี
  2.รับวิทยาการตะวันตก
  3.รักษาเอกราชของอาณาจักร
โปรตุเกส - เป็นประเทศแรกที่เข้ามาติดต่อกับอยุธยา
สเปน - การค้าไม่ขยายตัวกว้างมากนัก เพราะ สเปนมุ่งจะเจริญสัมพันธ์ไมตรี
ฮอลันดา - ผลประโยชน์ทางการค้า แต่ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ฮอลันดาเริ่มไม่ชอบระเบียบการค้าขายกับไทยที่ต้องผ่านพระคลังสินค้า จึงส่งเรือรบมาปิดปากอ่าวไทย
ฝรั่งเศส - อยุธยาจึงมีสัมพันธ์ไมตรีกับฝรั่งเศส เพื่อถ่วงดุลย์อำนาจกับฮอลันดา
อังกฤษ - ความสัมพันธ์ด้านทางการค้าแต่ไม่ดีมากนัก


วีรสตรีแห่งกรุงศรีอยุธยา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น