วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

หน่วยการเรียนรู้ที่4กฏหมายหลักที่ใช้ปกครองประเทศ

ศาสนากับการเมืองการปกครอง


     คำว่า “ปกครอง” หมายถึง การคุ้มครอง รักษา ดูแล ควบคุม
            สังคมมนุษย์ ที่อยู่รวมกัน ตั้งแต่สังคมที่เล็กที่สุด ระดับ ครอบครัว หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ เมือง ประเทศ กลุ่มประเทศ ไปจนถึงสังคมโลก ต้องมีการดูแลรักษาควบคุมคุ้มครอง  อาทิ ในระดับครอบครัวก็ต้องมีบิดามารดา ปกครองดูแลบุตรและสมาชิกอื่นภายในครอบครัว 
สังคมที่ใหญ่ขึ้นก็ต้องมีหัวหน้าเป็นผู้นำ ปกครองดูแลสมาชิก ลดหลั่นกัน ตามสถานภาพ สำหรับประเทศไทยมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ตั้งแต่สมัยโบราณ  ถ้าจะนับตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นราชธานี พบว่า พระพุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้ามาในประเทศไทยแล้ว หรือก่อนหน้านี้ดินแดนที่เป็นที่ตั้งของประเทศไทยก็มีหลักฐานว่าศาสนาพุทธได้มีคนในถิ่นนี้เชื่อหลักธรรมทางพุทธศาสนาแล้ว เช่น พระธาตุพนม
ในอาณาจักรโคตรบูร  เจดีย์วัดมหาธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช พระบรมธาตุไชยา จังหวัด  สุราษฎร์ธานี ในอาณาจักรศรีวิชัย แสดงให้เห็นว่า การปกครองในระดับรัฐหรือประเทศของคนในดินแดนสุวรรณภูมิมีการใช้หลักธรรมทางพุทธศาสนา ในการปกครองประเทศแล้ว
            ประเทศไทยเคยปกครองในระบบสมบูรณาญาสิทธิราช มีพระมหากษัตริย์เป็นผู้นำสูงสุดในการปกครอง พระมหากษัตริย์ของไทยมิได้ใช้อำนาจอย่างเดียวในการปกครองประเทศและเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เป็นระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์โดยเฉพาะองค์ปัจจุบันทรงใช้ ทศพิธราชธรรม ในการดูแลคุ้มครองประชาชนของพระองค์ นอกจากนี้ทรงใช้หลักธรรมทางพุทธศาสนาอื่นอีกมากในราชจริยาวัตร อาทิ จักรวรรดิวัตร 12 ประการ สังคหวัตถุ4 พรหมวิหาร4  ฆราวาสธรรม4 ราชจริยวัตร4 ฯลฯ
            กฎหมายที่ใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศก็ใช้หลักคำสอนทางพุทธศาสนาเป็นหลักในการออกกฎหมาย มาตั้งแต่สมัยโบราณ จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ มีการจ้างชาวต่างประเทศมาเป็นที่ปรึกษาในการออกกฎหมาย ประเทศไทยยังคงยึดหลักคำสอนทางพุทธศาสนาในการออกกฎหมาย
บังคับใช้ในการปกครองประเทศ อาทิ  ศีล ข้อที่ 1 ปาณาติปาตา เวรมณี (งดเว้นการฆ่าสัตว์ )  ถ้าสมาชิกในสังคม ไปทำร้ายผู้อื่น
ก็ถือว่ากระทำผิดกฎหมาย ต้องถูกลงโทษ
ข้อที่ 2 อะทินณาทานา เวรมณี ( งดเว้นการลักทรัพย์) ถ้าสมาชิกในสังคม ไปลักทรัพย์ของผู้อื่น ก็ถือว่ากระทำผิดกฎหมาย ต้องถูกลงโทษอย่างนี้เป็นต้น
จะเห็นได้ว่าหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาส่งเสริมในด้านการปกครอง ให้สมาชิกในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข

            ธรรมสำหรับพระราชา ธรรมสำหรับพระราชาซึ่งเป็นแบบแผนในการปกครองได้แก่
ทศพิธราชธรรม 10 จักรวรรดิวัตร 12 และราชสังคหวัตถุ 4
เป็นพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ที่ได้ทรงบำเพ็ญคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชนอย่างใหญ่หลวง
           ทศพิธราชธรรม 10 คือธรรมในการใช้พระราชอำนาจและการบำเพ็ญประโยชน์ต่ออาณาประชาราษฎร์ มีดังนี้
1. การให้
2. การบริจาค
3. ความประพฤติดีงาม
4. ความซื่อตรง
5. ความอ่อนโยน
6. ความทรงเดช
7. ความไม่โกรธ
8. ความไม่เบียดเบียน
9. ความอดทน
10. ความไม่คลาดเคลื่อนในธรรม

            จักรวรรดิวัตร 12 คือธรรมอันเป็นพระราชจริยานุวัตร ทรงถือและอาศัยธรรมข้อนี้เป็นหลักสำหรับการปกครองประเทศ ดังนี้
1. ควรอนุเคราะห์คนในราชสำนักและคนภายนอกให้มีความสุข ไม่ปล่อยปละละเลย
2. ควรผูกไมตรีกับประเทศอื่น
3. ควรอนุเคราะห์พระราชวงศานุวงศ์
4. ควรเกื้อกูลพราหมณ์ คหบดี และคฤบดีชน คือเกื้อกูลพราหมณ์และผู้ที่อยู่ในเมือง
5. ควรอนุเคราะห์ประชาชนที่อยู่ในชนบท
6. ควรอนุเคราะห์สมณพรามณ์ผู้มีศีล
7. ควรจักรักษาฝูงเนื้อ นก และสัตว์ทั้งหลายมิให้สูญพันธ์
8. ควรห้ามชนทั้งหลายมิให้ประพฤติผิดธรรม และชักนำด้วยตัวอย่างให้อยู่ในกุศลสุตจริต
9. ควรเลี้ยงดูคนจน เพื่อมิให้ประกอบการทุจริตและอกุศลต่อสังคม
10. ควรเข้าใกล้สมณพราหมณ์เพื่อศึกษาบุญและบาป กุศล และอกุศลให้แจ่มชัด
11. ควรห้ามจิตมิให้ต้องการไปในที่ที่พระมหากษัตริย์ไม่ควรเสด็จ 12
12. ควรระงับความโลภมิให้ปรารถนาในลาภที่พระมหากษัตริย์มิควรจะได้

         ราชสังคหวัตถุ 4 ราชสังคหวัตถุ ๔ คือ
1. ทาน แบ่งปันสิ่งของให้กัน
2. ปิยวาจา พูดจาดีต่อกัน
3. อัตถจริยา ทำประโยชน์ให้กัน
4. สมานัตตตา วางตัวเหมาะสม
            พระราชจริยานุวัตรอันเป็นที่ยึดเหนี่ยวนำใจประชาชน สำหรับเป็นแนวทางในการวางนโยบายปกครองบ้านเมือง ดังนี้ ทรงพระปรีชาในการบำรุงธัญญาหารให้บริบูรณ์ ทรงพระปรีชาในการสงเคราะห์บุรุษที่ประพฤติดี ทรงพระปรีชาในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขของราษฎร และการตรัสพระวาจาที่อ่อนหวานแก่ชนทุกชั้นโดยควรแก่ฐานะ

หน่วยการเรียนรู้ที่3 กฏหมายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

กฏหมายในชีวิตประจําวัน

กฎหมาย  เปนเครื่องมือสําคัญที่ใช้จัดระเบียบสังคม  เพื่อให้
ดํารงชีิวิตอย่างปก ิตสุข  ประชาชนทุกคนอยู่ภายใต้กฎหมาย  และต้องรู้
เรื่องกฎหมาย  เพราะเปนเรื่องใกล้ตัว
             กฎหมายที่ควรเรียนรู้ในเบื้องต้น  เพื่อเป็นพื้นฐานในการดําเนิน
ชีวิต   ได้แก่
             1.    กฎหมายเกี่ยวกับตนเอง  ครอบครัว  และชุมชน
             2.   กฎหมายเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ  และสิ่งแวดล้อม
             3.   กฎหมายเกี่ยวกับพระราชบัญญัิตสงวน  และคุมครองสัตว์ป่า
             4.   กฎหมายจราจร
             5.   กฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สมบัติของชาติ

กฎหมายเกี่ยวกับตนเอง  ครอบครัวและชุมชน  มีดังนี้
             1.   การแจ้งเกิด การแจ้งเ กิดมี2 กรณีคือ
                     1.1     กรณีเกิดในบ้า น  เจ้าบ้านมีหน้าที่แจ้งเ กิดต่อนา ย
ทะเบียนทองที่หรือกํานัน  ต้องแจ้งภายใน  15  วัน  นับต้ังแต่วันเด็กเกิด
โดยนําสําเนาฉบับเจ้าบ้านไปด้วย  นายทะเบียนที่รับแจ้งจะเป็นผู้ออกสูติ
บัตรให้แก่ผู้แจ้งไว้เปนหลักฐาน
                     1.2    กรณีเ กิดนอกบ้าน  ให้บิดา  มารดา  เป็นผู้แจ้งเ กิดต่อ
นายทะเบียนภายใน  15  วัน  นับแต่วันเด็กเกิด  ในกรณีที่มีความจําเป็น
ไม่สามารถไปแจ้งได้ตามกําหนดให้แจ้งภายหลังได้แต่ต้องไม่เกิน 30 วัน
นับตั้งแต่วันเกิด
              กรณีที่เด็กเ ิกดที่โรงพยาบาล  เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลจะเป็น
ผูดําเนินการแจ้งเ ิกดให้

2.    การแจงตาย   เมื่อมีการตายเ ิกดขึ้นให้ดําเนินการ  ดังนี้
                     2.1    กรณีคนตายในบ้าน  เจ้าบ้านหรือผู้พบศพแจ้งต่อ
นายทะเบียนท้องที่ภายใน  24  ชั่วโมง  นับแต่เวลาตายหรือเวลาที่พบศพ
โดยนําทะเบียนบ้าน  บัตรประจําตัวประชาชนของผู้แจ้ง  และผู้ตาย
หนังสือรับรองการตายไปด้วย  นายทะเบียนจะออกใบมรณบัตรให้ไว้
เป็นหลักฐาน

2.2  กรณีคนตายนอกบ้าน  ให้บุคคลที่ไปกับผูกตายหรือผูก
พบศพแจ้งต่อนายทะเบียนท้องทาภายใน  24  ชั่วโมง  นับแต่เวลาที่ตาย
หรือเวลาที่พบศพ  หรือจะแจ้งต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจก็ได้
หลักฐานที่นําไปแจ้งใช้แบบเดียวกับการตายในบ้าน
              การจําหน่ายชื่อผู้ตายออกจากทะเบียนบ้าน  ต้องนําใบมรณบัตร
ไปแก้ไขในทะเบียนบ้านที่มีชื่อผู้ตายอยู่  และต้องเก็บรักษาใบมรณบัตร
ไว้ให้ดี  เนื่องจากเป็นเอกสารสําคัญทางราชการ

กฎหมายแพ่งในชีวิตประจำวัน
วิชากฏหมายสำหรับนักพัฒนาเป็นวิชาบังคับที่นักศึกษาสาขาพัฒนาสังคมต้องเรียน วิชานี้ถึงฉันจะเรียนไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ก็เถอะ แต่ทุกครั้งที่เข้าเรียนก็สนุกสนาน อาจารย์เป็นกันเองมาก แล้วเนื้อหาที่เรียนก็มีประโยชน์และใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน ก็เลยอยากให้เพื่อนๆที่อ่านได้เกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับกฎหมายไปใช้ในชีวิตประจำวัน ที่ยกมาก็เป็นกฎหมายแพ่งในชีวิตประจำวัน  ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นที่เราจะต้องรู้ไว้ในฐานะที่เป็นคนอยู่ใต้กฎหมายเพื่อที่จะได้ไม่ต้องทำผิดกฎหมาย และไม่ให้ใครมาเอาเปรียบเราได้ มีทั้งการทำสัญญากู้ยืม การทำสัญญาซื้อขาย การหมั้น การสมรส การรับบุตรบุญธรรม และกฏหมายมรดก
1. กฎหมายแพ่ง เป็นกฎหมายเอกชนว่าด้วยเรื่องสิทธิ หน้าที่ และความสัมพันธ์ ระหว่างเอกชนต่อเอกชน ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย กฎหมายแพ่งของไทยบัญญัติในรูปของประมวลกฎหมายรวมกับกฎหมายพาณิชย์  รวมเรียกว่า กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีสาระพอสังเขป ได้ดังนี้
   1.1 บุคคล หมายถึง สิ่งซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย มี 2 ประเภท คือ บุคคลธรรมดา และนิติบุคคล
                1.1.1 บุคคลธรรมดา หมายถึง มนุษย์ซึ่งมีสภาพบุคคล และสิ้นสภาพบุคคลโดยการตายตามธรรมชาติ หรือตายโดยการสาบสูญ (กรณีปกติ 5 ปี และกรณีไม่ปกติ 2 ปี คือ อยู่ในระหว่างการรบสงคราม ประสบภัยในการเดินทาง เหตุอันตรายต่อชีวิต)
                1.1.2 นิติบุคคล หมายถึง สิ่งที่กฎหมายรับรองให้เป็นสภาพบุคคลสมมุติ ให้มีสิทธิหน้าที่เหมือนบุคคลธรรมดา แบ่งเป็น 2 ประเภท  คือ
                ก) นิติบุคคลตามประมวลกกหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้แก่
     1) กระทรวง ทบวง กรม
                     2) วัดวาอาราม ที่จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติสงฆ์
                     3) ห้างหุ้นส่วนที่ได้จดทะเบียนแล้ว
                     4) บริษัทจำกัด
                     5) มูลนิธิ สมาคม
                ข) นิติบุคคลตามกฎหมายอื่น ได้แก่ นิติบุคคลที่มีกฎหมายพิเศษรับรองสถานะ เช่น พรรคการเมือง รัฐวิสาหกิจ สหกรณ์

1.2 ทรัพย์ กฎหมายได้แยกลักษณะของทรัพย์สินออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ
                1.2.1 สังหาริมทรัพย์ ได้แก่
                ก) ทรัพย์ทั้งหลายอันอาจเคลื่อนที่ได้ จากที่แห่งหนึ่งไปแห่งอื่น ไม่ว่าเคลื่อนด้วยแรงเดินแห่งตัวทรัพย์นั้นเอง หรือ ด้วยกำลังภายนอก เช่น
                1) เคลื่อนที่ด้วยแรงของทรัพย์นั้นเอง เช่น หมู ช้าง วัว ควาย ฯลฯ
                2) เคลื่อนด้วยกำลังภายนอก เช่น รถยนต์ คอมพิวเตอร์ โต๊ะ เก้าอี้ ฯลฯ
                ข) กำลังแรงแห่งธรรมชาติอันอาจถือเอาได้ เช่น ก๊าซ  กระแสไฟฟ้า
                ค) สิทธิทั้งหลายอันเกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์นั้นด้วย เช่น ลิขสิทธิ์ สิทธิจำนำ สิทธิจำนอง สิทธิเครื่องหมายการค้า ฯลฯ
                1.2.2 อสังหาริมทรัพย์ ได้แก่
                1) ที่ดิน
                2) ทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินนั้น เช่น ตึก โรงเรือน บ้าน ไม้ยืนต้นต่างๆ ฯลฯ
                3) ทรัพย์อันประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน เช่น หิน กรวด ทราย
                4) สิทธิทั้งหลายอันเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดิน เช่น สิทธิครอบครอง สิทธิจำนอง กรรมสิทธิ์ในที่ดิน
1.3 นิติกรรม หมายถึง การกระทำใดๆ ที่ชอบด้วยกฎหมายและใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ ระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ
                การแสดงเจตนาของนิติกรรมอาจจะแสดงด้วยวาจา ลายลักษณ์อักษร หรือการนิ่งก็ได้
                นิติกรรมแม้จะทำด้วยใจสมัคร ก็มีข้อบกพร่อง ถ้ากฎหมายเข้าไปควบคุมและไม่อนุญาตให้ทำ โดยมี 2 ลักษณะ
1.     โมฆะกรรม หมายถึง การกระทำใดๆ ลงไป โดยเสียเปล่า ไม่มีผลผูกพันธ์ใดๆ  ได้แก่
1.1  นิติกรรมที่ต้องห้ามโดยกฎหมายชัดแจ้ง เช่น ทำสัญญาจ้างให้กระทำผิดกฎหมาย จ้างฆ่าคน
1.2   นิติกรรมเป็นการพ้นวิสัย เช่น ทำสัญญาซื้อขายดวงอาทิตย์
1.3  นิติกรรมที่เป็นการขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
1.4  นิติกรรมผิดแบบ เช่น การทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่  การเช่าซื้อต้องทำหนังสือ หากไม่ปฏิบัติก็ตกเป็นโมฆะ
2.     โมฆียกรรม หมายถึง นิติกรรมที่มีผลต่อคู่กรณี แต่ไม่สมบูรณ์โดยกฎหมาย เนื่องจากความสามารถของผู้กระทำนิติกรรม เช่น ผู้เยาว์ ผู้เสมือนไร้ความสามารถ ผู้ไร้ความสามารถ เป็นต้น หากมีการให้การรับรอง นิติกรรมนั้นก็สมบูรณ์ หรือ บอกล้างได้ภายใน 10 ปี ก็จะตกเป็นโมฆะกรรม
1.4  สัญญา เป็นนิติกรรมชนิดหนึ่ง สัญญาที่ชอบด้วยกฎหมาย ต้องมีคู่สัญญาถูกต้องตามสาระสำคัญ และมีวัตถุประสงค์ไม่ต้องห้ามตามกำหมาย หรือขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน สัญญาที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ได้แก่
            1.4.1 สัญญากู้ยืมเงิน
                                การกู้ยืมเงินเกินกว่า 2,000 บาท ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อผู้ยืม จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้
                1.4.2 สัญญาซื้อขาย
                                สัญญาซื้อขาย คือสัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า ผู้ขาย โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่า ผู้ซื้อ โดยผู้ซื้อตกลงจะชำระราคาทรัพย์สินให้แก่ผู้ขาย  หากพูดถึงการซื้อขาย ก็จะต้องกล่าวถึง สัญญาจะซื้อจะขาย ซึ่งส่วนให้จะทำสัญญากันก่อน ก่อนซื้อขายส่งมอบทรัพย์สินกันจริง หลักเกณฑ์พิจารณาได้ดังนี้
                                สัญญาจะขายหรือจะซื้อ หรือคำมั่นในการซื้อขาย ทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือ อย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ หรือได้วางเงินมัดจำไว้ หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว จะฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้  และกฎหมายยังบังคับถึง สัญญาซื้อขาย สังหาริมทรัพย์ ที่มีราคาตั้งแต่ 20,000 บาทขึ้นไปด้วย ที่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
                                สัญญาซื้อขาย อสังหาริมทรัพย์  ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ (พนักงานที่ดิน) หากไม่ทำถือว่าเป็นโมฆะ
                1.4.3 สัญญาขายฝาก
                                สัญญาขายฝาก หมายถึง สัญญาซื้อขายที่ผู้ขาย มีสิทธิไถ่ถอนได้ทรัพย์คืนตามเวลาที่กำหนด หากไม่ไถ่ถอนภายในกำหนด กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น ก็จะตกไปยังผู้ซื้อนับตั้งแต่เวลาที่ทำสัญญากัน
                1.4.4 สัญญาเช่าซื้อ
                                สัญญาเช่าซื้อ หมายถึง สัญญาที่เจ้าของทรัพย์ เอาทรัพย์ออกให้เช่า และให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้น หรือให้ทรัพย์สินนั้นแก่ผู้เช่า โดยมีเงื่อนไข ว่าต้องชำระเงินครบตามคราวที่กำหนด และที่สำคัญ สัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือ มิฉะนั้นถือเป็นโมฆะ
                        เจ้าของทรัพย์บอกเลิกสัญญาได้ ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่า 2 งวดติดต่อกัน หรือผู้เช่าซื้อผิดสัญญาในข้อที่เป็นสาระสำคัญ โดยผู้ให้เช่าซื้อได้เงินค่าเช่าที่ชำระไปแล้วทั้งหมดและเรียกทรัพย์คืนได้
                1.4.5 สัญญาจำนอง
                        สัญญาจำนอง หมายถึง สัญญาที่ผู้จำนองเอาทรัพย์สิน ประเภท อสังหาริมทรัพย์ เรือ แพ หรือ เครื่องจักร ไปจดทะเบียนจำนองเป็นประกันการชำระหนี้
                        ลักษณะสำคัญของสัญญาจำนอง
                                1. ผู้จำนองต้องเป็นเจ้าของทรัพย์ที่จำนอง
                                2. ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่
3. ผู้จำนองจะนำทรัพย์สินที่ติดจำนองไปจำนองแก่ผู้อื่นอีกในระหว่างที่สัญญาจำนองอันแรกยังมีอายุอยู่ก็ได้

                1.4.6  สัญญาจำนำ
                                สัญญาจำนำ หมายถึง สัญญาที่ผู้จำนำ ส่งมอบทรัพย์สินประเภท สังหาริมทรัพย์ แก่ผู้รับจำนำและตกลงว่าจะมาไถ่ถอนตามวันและเวลาที่กำหนด หากไม่มาไถ่ถอน ผู้รับจำนำมีสิทธิในทรัพย์สินนั้น
                1.4.7  สัญญาค้ำประกัน
                                สัญญาค้ำประกัน หมายถึง การที่ผู้ค้ำประกันทำสัญญากับเจ้าหนี้ว่า เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้แล้ว ตนจะชำระหนี้แทน สัญญาค้ำประกัน ต้องทำเป็นหนังสือ จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้
1.5 ครอบครัว

                1.5.1 การหมั้น หมายถึง การที่ฝ่ายชาย ตกลงกับฝ่ายหญิง ว่าจะสมรสกับหญิงนั้น โดยมีของหมั้นเป็นประกัน สาระสำคัญของการหมั้น
                                1. การหมั้นนั้นจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ ผู้เยาว์จะทำการหมั้นต้องได้รับความยินยอมจากบิดา มารดาหรือผู้ปกครอง
                                2. ถ้าหมั้นแล้วสมรส ของหมั้นจะกลายเป็นสินส่วนตัวของฝ่ายหญิง
                                3. ถ้าหมั้นแล้วไม่สมรส
                                                3.1 เนื่องจากความผิดของฝ่ายชาย ฝ่ายหญิงยึดของหมั้นได้
3.2 เนื่องจากความผิดของฝ่ายหญิง หญิงต้องคืนของหมั้นให้ฝ่ายชาย ชายเรียกสินสอดคืนได้
3.3 ฝ่ายที่เสียหายเรียกค่าทดแทนได้
3.4 จะฟ้องให้ศาลบังคับให้มีการสมรสไม่ได้
                1.5.2 การสมรส
                                1. การสมรสจะกระทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงอายุ 17 ปีบริบูรณ์ หากอายุต่ำกว่านี้ต้องให้ศาลอนุญาต                
                                2. การสมรส จะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อ จดทะเบียนต่อหน้านายทะเบียน
                ผู้ที่กฎหมายห้ามสมรส
1.      ชายหรือหญิงที่วิกลจริต หรือศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
2.      ชายหญิงที่เป็นญาติสืบสายโลหิตเดียวกัน เช่น พ่อแม่  ลูก  หรือ พี่  น้อง ที่มีพ่อแม่ร่วมกัน
3.      ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรม
4.      ชายหรือหญิงที่มีคู่สมรสอยู่แล้ว
หญิงที่เคยสมรสแล้ว เมื่อการสมรสสิ้นสุดลงไม่ว่า เพราะสามีตาย หรือหย่า จะสมรสใหม่ได้ต่อเมื่อ
1.     การสมรสได้สิ้นสุดลงไปอย่างน้อย 310 วัน
2.     สมรสกับคู่สมรสเดิม
3.     คลอดบุตรในระหว่างนั้น
4.     มีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ตั้งครรภ์
5.     ศาลสั่งให้สมรสได้
การสิ้นสุดของการสมรส
1.     ตาย ไม่ว่าจะตายโดยธรรมชาติ หรือสาบสูญ
2.     การหย่า
2.1  การหย่าโดยความยินยอมกันทั้งสองฝ่าย ต้องทำเป็นหนังสือ โดยมีพยานอย่างน้อย 2 คน หรือ จดทะเบียนหย่า
2.2  การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล 
-         เพราะมีอีกฝ่ายหนึ่งมีความผิด เช่น สามีอุปการะยกย่องหญิงอื่นฉันท์ภรรยา ภรรยามีชู้ สามีหรือภรรยาไม่อุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่ง หรือ ประพฤติชั่ว
-         เพราะการสาบสูญ หรือ ความเจ็บป่วย เช่น ร่วมประเวณีกันไม่ได้
1.5.3 การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม
                1. บุคคลผู้รับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี และต้องอายุมากกว่าบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี  หากผู้จะเป็นบุตรบุญธรรมยังเป็นผู้เยาว์ ต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดา หรือ ผู้แทน โดยชอบธรรม และคู่สมรส ด้วย (ยกเว้นคู่สมรสวิกลจริตหรือสาบสูญเกินกว่า 1 ปี )
                2. การรับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์ ถ้าจดทะเบียนตามกฎหมาย บุตรบุญธรรมจะมีฐานะเหมือนบุตรที่ชอบด้วยกำหมายทุกประการ ขณะเดียวกันก็ไม่เสียสิทธิและหน้าที่ในครอบครัวที่ให้กำเนิด กฎหมายถือว่า บิดา-มารดาโดยกำเนิด หมดอำนาจปกครองนับตั้งแต่วันที่เด็กเป็นบุตรบุญธรรมของผู้อื่น
                3. การเลิกรับบุตรบุญธรรม จะเลิกได้เมื่อทั้งคู่ยินยอมซึ่งกันและกัน หากบุตรบุญธรรมอายุต่ำกว่า 15 ปี จะฟ้องเลิกรับบุตรบุญธรรมไม่ได้ เว้นแต่ผู้มีสิทธิให้ความยินยอมในการรับบุตรบุญธรรมยินยอม
                4. เมื่อเลิกรับบุตรบุญธรรม บุตรบุญธรรมกลับคืนสู่ฐานะในครอบครัวเดิม
1.5.4 มรดก
                1. มรดกย่อมตกทอดแก่ทายาททันทีที่เจ้าของมรดกตายหรือสาบสูญ
                2. ทายาท
                                2.1 ทายาทโดยธรรม ได้แก่ คู่สมรส และญาติสนิท สิทธิการรับมรดกจะแบ่งให้ลดลงตามความห่างของญาติ ถ้าเจ้าของมรดก มีบิดามารดา คู่สมรสและบุตรทุกคน จะได้คนละเท่ากันคนละส่วน
                                2.2 ทายาทโดยพินัยกรรม
ในกรณีเจ้าของมรดก มีคู่สมรสต้องแบ่งทรัพย์สินแก่อีกฝ่ายหนึ่งก่อน ส่วนที่เหลือจึงเป็นมรดกตกทอดต่อไป
                                2.3 ผู้ที่จะทำพินัยกรรมได้ต้องมีอายุ 1 5ปีขึ้นไป และต้องไม่เป็นบุคคลไร้ความสามารถ
                                2.4 การเสียมรดก
                                      2.4.1 ทายาทโดยชอบธรรมยักย้ายถ่ายเท ปิดบังทรัพย์มรดก โดยทุจริต
                                      2.4.2 ทายาทตามพินัยกรรม หลอกลวงหรือข่มขู่ให้เจ้ามรดกทำพินัยกรรมขึ้น